วันอาทิตย์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2557

จันทน์หอม อุทยานแห่งชาติกุยบุรี

จันทน์หอม
มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Mansonia gagei Drumm. มีชื่อวงศ์ว่า STERCULIACEAE มีชื่อสามัญว่า Kalamet และยังมีชื่อ เรียกอื่นอีกไม่ว่าจะเป็น จันทน์ จันทน์ชะมด จันทน์ขาว จันทน์พม่า จันทน์หอม(เต็ม สมิตินันท์, 2523)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ต้น ขนาดเล็กถึงขนาดกลาง แบบผลัดใบ สูง 10-20 เมตรเปลือก ลักษณะค่อนข้างเรียบ มีสีเทาอมขาว เรือนยอดเป็นพุ่มกลมค่อนข้างโปร่ง กิ่งอ่อนมีขนประปราย ลักษณะเนื้อไม้ มีสีน้ำตาลอ่อน เสี้ยนตรง เนื้อละเอียด เป็นไม้เนื้อแข็ง เลื่อย ไสกบ ตบแต่งง่ายส่วนแก่นสีน้ำตาลเข้ม มีความถ่วง จำเพาะ ประมาณ 0.93 (กรมป่าไม้, 2526)
ใบ เป็นชนิดใบเดี่ยว ติดเรียงสลับทรงใบรูปรีๆ แกมรูปขอบขนาน หรทอรูปรีๆ แกมรูปไข่กลับ กว้าง 3-6 ซม. ยาว 8-14 ซม. โคนใบตัดหรือหยักเว้าเข้าเล็กน้อย ปลายใบสอบแหลมทู่ๆ เนื้อใบค่อนข้างหนา มีขนประปราย แต่พอใบแก่จะเกลี้ยง ใบแห้งออกสีเขียวอ่อนๆ เส้นใบออกจากจุดโคนใบ 3 เส้น เส้น แขนงใบมี 4-6 คู่ ขอบใบเป็นคลื่นห่างๆ ทางส่วนที่ค่อนไปทางปลายใบ ก้านใบยาว 5-10 มม. มีขน ประปรายและจะออกสีคล้ำเมื่อใบแห้ง
ดอก ดอกเล็กสีขาว ออกรวมกันเป็นช่อตามปลายกิ่งและตามง่ามใบใกล้ๆ ปลายกิ่ง ช่อยาวประมาณ 15 ซม. โคนกลีบฐานดอกติดกันเป็นรูปเหยือกน้ำ ปลายแยกเป็นแฉกแหลมๆ 5 แฉก ทั้ง หมดยาว 10-13 มม. มีขนแน่นทางด้านนอก ส่วนด้านในเกลี้ยง กลีบดอกมี 5 กลีบไม่ติดกัน ทรงกลีบ รูปซ้อนเกลี้ยง ยาว 10-13 มม. เกสรผู้มี 10 อัน และในจำนวนนี้จะเป็นเกสรผู้เทียมเสีย 5 อัน รังไข่มี 5 พู รวมเบียดกันอยู่เป็นรูปเหยือกน้ำมีขนคลุมแน่น แต่ละพูเป็นอิสระแก่กัน และต่างก็มีหลอดท่อรังไข่ หนึ่งหลอด ในแต่ละพูมีช่องเดียว และมีไข่อ่อนหนึ่งหน่วย
ผล ผลเป็นชนิดผลแห้ง มักติดเป็นคู่ๆ แต่ไม่ติดเป็นเนื้อเดียวกัน ผลมีรูปทรงเหมือนกระสวยเล็กๆ กว้าง 5-7 มม. และยาว 10-15 ซม. แต่ละผลมีปีกทรงรูปสามเหลี่ยมติดที่ปลายผลหนึ่งปีก ปีกกว้าง 1-15 ซม. ยาว 2.5-3 ซม. ก้านผลยาวประมาณ 5 มม.
ระยะการออกดอก-ผล ออกดอกระหว่างเดือนสิงหาคม-ตุลาคม ส่วนผลจะแก่ระหว่างเดือนธันวาคม-มกราคม

         ขยายพันธุ์ โดยเมล็ด
         ลักษณะทางนิเวศวิทยา ขึ้นในป่าดิบแล้ง ชอบขึ้นตามเขาหินปูน ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคตะวันตกเฉียงใต้ที่สูงจากระดับน้ำทะเล 200-400 เมตร
ประโยชน์ เนื้อไม้ กระพี้ สีขาว แก่นสีน้ำตาลเข้ม ไสกบตบแต่งง่าย ไม้ที่ตายเองจะมีกลิ่นหอม ใช้ทำหีบใส่เสื้อผ้า เครื่องกลึง เครื่องแกะสลัก ทำหวี ดอกไม้จันทน์ ธูป น้ำมันหอมที่ได้จากการกลั่นชิ้นไม้ใช้ ปรุงเครื่องหอม และเครื่องสำอาง ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ เนื้อไม้ใช้เป็นยาแก้ไข้ แก้โลหิตเสีย แก้ กระหายน้ำและอ่อนเพลีย
   
         การเจริญเติบโต
         ทางความสูงของกล้าไม้จันทน์หอมเมื่อเริ่มปลูกอายุประมาณ 1 เดือน จะมีความสูงเฉลี่ยเท่ากับ 0.26 เซนติเมตร มีอัตราการเจริญเติบโตทางความสูงเฉลี่ย เท่ากับ 0.564 เซนติเมตรต่อปี ซึ่งจะมี อัตราการเจริญเติบโตสูงสุดในช่วงอายุ 3-4 ปี เท่ากับ 0.76 เมตร และอัตราการเจริญเติบโตต่ำสุดใน ช่วงอายุ 1-2 ปี เท่ากับ 0.29 เมตร เมื่อไม้จันทน์หอมมีอายุ 5 ปี จะมีความสูงเฉลี่ย เท่ากับ 2.82 เมตร
         การเจริญเติบโตทางเส้นผ่าศูนย์กลางโคนต้นของไม้จันทน์หอมเมื่อเริ่มปลูกอายุประมาณ 1 เดือน จะมีการเจริญเติบโตโคนต้นเฉลี่ย เท่ากับ 0.42 เซนติเมตร มีอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยเท่ากับ 1.428 เซนติเมตรต่อปี ซึ่งจะมีอัตราการเจริญเติบโตสูงสุดในช่วงอายุ 4-5 ปี เท่ากับ 1.86 เซนติเมตร และอัตราการเจริญเติบโตต่ำสุดในช่วงอายุ 1-2 ปี เท่ากับ 1.01 เซนติเมตร เมื่อไม้จันทน์หอมมีอายุ 5 ปี มีการเจริญเติบโตทางเส้นผ่าศูนย์กลางโคนต้น เท่ากับ 7.14 เซนติเมตรการเจริญเติบโตทางเส้นผ่าศูนย์
กลางระดับอกของไม้จันทน์หอมจะเริ่มวัดข้อมูลได้เมื่อต้นไม้มีอายุ3 ปี ถึงจะมีความสูง เท่ากับ 1.47 เมตร จะมีเส้นผ่าศูนย์กลางที่ระดับอก เท่ากับ 1.04 เซนติเมตร มีอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ย เท่ากับ 1.13 เซนติเมตร ซึ่งจะมีอัตราการเจริญเติบโตสูงสุดในช่วงอายุ 4-5 ปี เท่ากับ 1.55เซนติเมตร เมื่อไม้ จันทน์หอมอายุ 5 ปี จะมีการเจริญเติบโตทางเส้นผ่าศูนย์กลางที่ระดับอก เท่ากับ 3.39เซนติเมตร
        เปอร์เซ็นต์การรอดตายของไม้จันทน์หอมเมื่อเริ่มปลูกในเดือนแรก จะรอดตายเฉลี่ย 89 เปอร์เซ็นต์และปลูกซ่อมให้ครบ 100 เปอร์เซ็นต์ และเมื่ออายุ 1-5 ปีเปอร์เซ็นต์การรอดตายเฉลี่ยเท่ากับ 95, 94, 90, 89 และ 89 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ (คงศักดิ์ มีแก้ว)

คำค้นหา  :  อุทยานแห่งชาติกุยบุรี ,ช้างป่ากุยบุรี , กระทิงอุทยานแห่งชาติกุยบุรี , เสือโคร่งอุทยานแห่งชาติกุยบุรี,จองบ้านพักอุทยานแห่งชาติกุยบุรี ,ช้างป่าอุทยานแห่งชาติกุยบุรี,ดูนกอุทยานแห่งชาติกุยบุรี ,แผนที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรี ,เที่ยวกุยบุรี ,แหล่งท่องเที่ยวจังหวัดประจวบคีรีขันะธุ์ ,  kuiburi national park เที่ยวอุทยานแห่งชาติกุยบุรี,กุยบุรีซาฟารีเมืองไทย,น้ำตกดงมะไฟอุทยานแห่งชาติกุยบุรี ,อำเภอกุยบุรี ,กุยบุรีโมเดล ,ชมรมรักษ์ กระทิงไทย