วันอังคารที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ผีเสือในอุทยานแห่งชาติกุยบุรี

ผีเสือในอุทยานแห่งชาติกุยบุรี จะพบมากในบริเวณเส้นทางศึกษาธรรมชาติคลองกุยบุรีและบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติกุยบุรี ซึ่งเป็นต้นน้ำของแม่น้ำกุยบุรี เปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงชีวิตชาวกุบบุรีตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน  จากการเดินทางสำรวจเบื้องต้นเป็นเวลา 2 โมงพบว่ามีผีเสื้อจำนวนมากและหลากหลายชนิด



ข้อมูลทั่วไป ผีเสื้อ

ผีเสื้อจัดเป็นสัตว์ในไฟลัมอาร์โทร์โปดา (Phylum Arthropoda) เช่นเดียวกับแมลง ทั่วๆ ไป ผีเสื้ออยู่ในอันดับเลพิดอปเทอรา (Orderlepidoptera) ของชันอินเซกตา (Class Insecta) แมลงที่อยู่ในอันดับนี้มีลักษณเด่นตรงที่ปีกปกคลุมไปด้วยเกล็ดสีเล็กๆ เรียงซ้อนกัน  คำว่าเลพิดอปเทอรา (Lepidoptera) มาจากคำในภาษากรีก 2 คำคือ เลพิส (Iepis) แปลว่าปีก   นั่นก็คือ  ปีก,เกล็ด หรือ ปีกมีเกล็ด

กำเนิดผีเสื้อ
ในบรรดาสัตว์ต่าง ๆ ที่อยู่บนโลกนี้  สัตว์จำพวกแมลงมีจำนวนชนิดมากถึง 3 ใน 4 ของสัตว์ทั้งหมด  ด้วยวิวัฒนาการอันยาวนาน  แมลงจึงมีลักษณะแตกต่างหลากหลายมาก ซึ่งเราศึกษาได้จากซากดึกดำบรรพ์  ที่ค้นพบในปัจจุบัน   แต่สำหรับแมลงในกลุ่มของผีเสื้อที่มีแผ่นปีกอันบอบบาง  ซากของมันคงจะชำรุดเสียหายได้ง่ายหลังจากที่มันตายลง   ซากดึกดำบรรพ์ของผีเสื้อที่พบในปัจจุบัน จึงไม่สมบูรณ์พอที่จะบอกเรื่องราวของมันในอดีดได้มากนัก  เราคงต้องอาศัยจินตนาการและการคาดเดาในบางส่วน

วิวัฒนาการของผีเสื้อ
แมลงที่เราพบเห็นกันอยู่ในปัจจุบัน   ส่วนใหญ่มีวัฒนาการมาตั้งแต่ยุค  คาร์บอนนิเฟอร์รัส (Carboniferous) ราว 300 ล้านปีก่อน   จากซากดึกดำบรรพ์  พบว่ามีผีเสื้ออาจจะวิวัฒนาการมาจากบรรพบุรุษของแมลงในอันดับ  มีคอปเทอรา (Mecoptera)  ซึ่งถือกำเนิดขึ้นมาในยุค เพอร์เมียน (Permian) ตอนต้น หรือประมาณ 250 ล้านปีก่อน  แต่กว่าจะวิวัฒนาการมาเป็นผีเสื้อได้ ก็ต้องใช้เวลาหลังจากนั้นอีกหลายล้านปี  เพราะว่าซากดึกดำบรรพ์ของผีเสื้อกลางคืนที่เก่าแก่ที่สุดที่เราค้นพบมีอายุอยู่ในราว 100 - 400 ล้านปีก่อน  ส่วนซากดึกดำบรรพ์ของผีเสื้อกลางวันมีอายุแค่ 40 ล้านปีเท่านั้น
ถ้าเราลองดูความสัมพันธ์ของผีเสื้อกับพืชมีดอกในปัจจุบัน ก็เป็นไปได้ว่าทั้งสองมีวิวัฒนาการมาร่วมกัน ทั้งนี้เพราะผีเสื้อเกือบทุกชนิดมีปากเป็นท่องวง ที่วิวัฒนาการมาเพื่อใช้ดูดน้ำหวานที่อยู่ลึกลงไปในดอกไม้ พืชดอกที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่ค้นพบมา   มีอายุอยู่ในราว 90 ล้านปีก่อน   เมื่อดูความหลากหลายของพืชดอกซึ่งมีอยู่มากมายในยุคนั้นแล้ว   พืชมีดอกก็น่าจะกำเนิดขึ้นก่อนช่วงเวลาดังกล่าว   คือเมื่อราว 150 - 200 ล้านปีก่อน    ดังนั้น  ถ้าผีเสื้อกับพืชดอกมีวิวัฒนาการมาร่วมกันแล้ว   ผีเสื้อก็น่าจะเกิดขึ้นในช่วงเวลานี้ด้วยอย่างไรก็ตาม   เรายังคงสรุปให้ชัดเจนลงไปไม่ได้ว่าผีเสื้อถือกำเนิดขึ้นมาเมื่อไหร่แน่    จนกว่าเราจะค้นพบหลักฐานจากอดีดที่มากพอ

ลักษณะของผีเสื้อ
ผีเสื้อประกอบด้วยลำตัวที่ไม่มีโครงกระดูกภายในเช่นเดียวกับแมลงอื่น ๆ แต่มีเปลือกนอกแข็งเป็นสา
รจำพวกไคติน (chitin) ห่อหุ้มร่างกาย ภายในเปลือกแข็งเป็นที่ยึดของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการเคลื่อนที่ลำตัวของผีเสื้อแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ  ส่วนหัว  ส่วนอก  และส่วนท้อง  ทั้ง 3 ส่วนประกอบด้วยวงแหวนหลาย ๆ วงเรียงต่อกัน  เชื่อมยึดด้วยเยื่อบาง ๆ เพื่อให้การเคลื่อนไหวได้สะดวกวงแหวนที่เชื่อมต่อกันเป็นลำตัวของผีเสื้อมีทั้งหมด 14 ปล้อง แบ่งออกเป็นส่วนหัว 1 ปล้อง ส่วนอก 3 ปล้อง และส่วนท้อง 10 ปล้อง
ปีก ผีเสื้อมีปีก 2 คู่ ไม่มีปีกนอกปีกในปีกคู่หน้าจะซ้อนทับปีกคู่หลังบางส่วน ปีกของผีเสื้อเป็นเยื้อบาง ๆ ประกบกัน มีเส้นปีกเป็นโครงร่างให้ปีกคงรูปอยู่ได้  เส้นปีกของผีเสื้อจึงเปรียบได้กับโครงกระดูกของสัตว์ปีกชนิดอื่น ๆ  ผีเสื้อส่วนใหญ่จะมีเส้นปีกในปีกคู่หน้า 12 เส้น ปีกคู่หลัง 9 เส้น การจัดเรียงกันของเส้นปีกเป็นลักษณะสำคัญอย่างหนึ่ง ในการจำแนกชนิด สกุล และวงศ์ของผีเสื้อ
ตารวม (Compound  eye)  ประกอบด้วยตาเล็ก ๆ หลายพันตา ทำหน้าที่รับภาพที่เคลื่อนไหว  มีประสิทธิภาพการมองเห็นสูง
ตาเดียว (Simple eye) สันนิฐานว่ามีไว้เพื่อรับรู้ความมืดและความสว่าง
หนวด มีหน้าที่ในการดมกลิ่น
ท่องวง (proboscis) ใช้สำหรับดูดกินอาหารที่เป็นของเหลว เช่น น้ำ  น้ำหวาน  เวลาที่ไม่ได้กินอาหาร งวงนี้จะม้วนเก็บเป็นวงกลมคล้ายขดของลานนาฬิกา
ขา  มีลักษณะเป็นข้อๆ แบ่งออกเป็น 5 ส่วนคือ ข้อโคนขา ข้อต่อโคนขา ต้นขา และตีน  ตีนแบ่งเป็น 5 ข้อ มีเล็บ 1-2 คู่ ที่ปลายตีน
ส่วนอก ประกอบด้วยปล้อง 3 ปล้องเรียงต่อกัน รอยต่อระหว่างปล้องมองเห็นได้ไม่ชัดเจนนัก เนื่องจากมีเกล็ดสีปกคลุม แต่ละปล้องมีขา 1 คู่ ปีกคู่หน้าติดอยู่กับอกปล้องที่  2 ปีกคู่หลังติดอยู่กับอกปล้องที่ 3 (ปล้องที่ติดกับส่วนท้อง)
อวัยวะเพศ มีรูปร่างลักษณะ ที่แตกต่างกันไปตามชนิดของผีเสื้อ ในธรรมชาติผีเสื้อชนิดเดียวกันเท่านั้นจึงจะผสมพันธุ์กันได้ไม่มีการผสมข้ามพันธุ์กัน แต่ถ้ามีก็น้อยมาก อวัยวะเพศของผีเสื้อโดยเฉพาะเพศผู้จึงสามารถใช้ในการจำแนกชนิดผีเสื้อได้ด้วย

วงจรชีวิตของผีเสื้อ
ผีเสื้อมีการเจริญเติบโตแบบโฮโลเมตาโบลัส (holometabolous) คือการเจริญเติบโตที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างแบบสมบูรณ์ (complete metamorphosis) แบ่งเป็น 4 ระยะด้วยกัน คือ ไข่ หนอน ดักแด้ และตัวเต็มวัย การเจริญเติบโตในแต่ละขั้นตอน ผีเสื้อจะมีรูปร่างที่ไม่เหมือนกันเลย ข้อดีสำหรับการเจริญเติบโตแบบนี้คือ แต่ละช่วงของวงจรชีวิตต้องการอาหารแตกต่างกัน และอาจอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน มีศัตรูต่างชนิดกัน ทำให้การเจริญเติบโตในแต่ละระยะ มีอัตราการเสี่ยงต่อการถูกทำลายน้อยลง

ชีวิตของผีเสื้อ
ผีเสื้อแต่ละชนิดมีอายุไม่เท่ากัน  บางชนิดมีอายุเพียง 1 เดือน บางชนิดมีอายุถึง 1 ปี หน้าที่หลักของผีเสื้อในระยะที่เป็นตัวเต็มวัยคือการผสมพันธุ์เพื่อสืบทอดเผ่าพันธุ์ดังนั้นในชีวิตประจำวันของมันก็จะออกหาคู่เพื่อผสมพันธ์  และขณะเดียวกันก็จะออกหาอาหารด้วย  อาหารของผีเสื้อก็คือของเหลวที่มีแร่ธาตุต่าง ๆ เช่นน้ำหวานจากดอกไม้  น้ำตามพื้นดินพื้นทราย  ส่วนใหญ่แล้วผีเสื้อเพศผู้มักจะลงหากินตามที่ชื้นแฉะริมห้วย  ตามโป่งดิน ผลไม้เน่า มูลสัตว์  ส่วนผีเสื้อเพศเมียมักจะหากินน้ำหวานจากดอกไม้  ปกติผีเสื้อเพศผู้และเพศเมียจะหากินในอาณาบริเวณเดียวกัน  แต่บางครั้งพบว่ามันหากินไกลกัน
ในเช้าวันที่อากาศดี ผีเสื้อจะออกมาผึ่งแดดเพื่ออบอุ่นร่างกาย  และจะออกหากินในช่วงเวลาประมาณ แปดโมงเช้าถึงสิบโมงเช้าพอถึงเวลากลางวันที่อากาศร้อน  ผีเสื้อจะหลบพักตามที่ร่มไม้  และเริ่มออกหากินอีกครั้งในช่วงบ่ายประมาณสามโมงถึงห้าโมงเย็น  ถ้าฝนตกผีเสื้อจะหลบตามใต้ใบไม้  และออกหากินหลังฝนหยุดตก ในวันที่ฟ้าครึ้ม มีเมฆมาก อากาศมีความชื้นสูง  ผีเสื้อมักจะไม่ค่อยออกบินหากิน อย่างไรก็ตามมีผีเสื้อบางชนิดที่ออกหากินในตอนเช้ามืดหรือใกล้ค่ำ
ในตอนกลางคืนผีเสื้อที่ออกหากินในตอนกลางวันก็จะพักนิ่ง ๆ ตามใบไม้  ส่วนผีเสื้อกลางคืนก็จะออกหากินสลับกัน
ดอกไม้กับผีเสื้อ
ดอกไม้สำหรับผีเสื้อกลางคืนมักมีสีอ่อน ลักษณะเป็นท่อยาวและเล็ก  ไม่มีที่ให้เกาะ  มีน้ำหวานอยู่ลึกลงไปในดอกไม้  และบานส่งกลิ่นหอมในตอนกลางคืน  ส่วนดอกไม้สำหรับผีเสื้อกลางวันมักมีสีสด หลายชนิดมีสีแดง  โดยมากมักมีขนาดเล็กกว่าดอกไม้สำหรับผีเสื้อกลางคืน  แต่จับกลุ่มกันเป็นดอกรวมให้ผีเสื้อเกาะได้
ผีเสื้อและแมลงต่าง ๆ มองเห็นสีสันของดอกไม้แตกต่างไปจากที่คนเรามองเห็น  ทั้งนี้เพราะมันสามารถมองเห็นแสงในย่านอัลตราไวโอเลต เมื่อฉายด้วยแสงอัลตราไวโอเลต ไปบนดอกไม้ที่เรามองเห็นว่าเป็นสีเรียบ ๆ  แมลงจะเห็นว่าบนกลีบดอกมีเส้นสีเข้มมากมาย  เส้นสีเข้มนี้เรียกว่า nectar  guide   ซึ่งจะชี้นำให้แมลงเข้าไปหาน้ำหวานที่อยู่กลางดอก

ผีเสื้อกลางวันกับผีเสื้อกลางคืน
ผีเสื้ออาจแบ่งเป็น ๒ กลุ่มใหญ่ ๆ คือ ผีเสื้อกลางวันกับผีเสื้อกลางคืน หากดูเพียงผิวเผินเราอาจเห็นว่าผีเสื้อกลางวันกับผีเสื้อกลางคืนนั้นไม่แตกต่างกันเลยแต่ในทางอนุกรมวิธาน ผีเสื้อกลางวันและผีเสื้อกลางคืนอยู่ในอันดับย่อย (suborder) ต่างกันคือ อันดับย่อยผีเสื้อกลางวัน (butterfly) และอันย่อยผีเสื้อกลางคืน (moth) หรือที่เราเรียกกันว่าแมลงมอท ในจำนวนเสื้อนับแสนชนิดบนโลก พบว่า ส่วนใหญ่เป็นผีเสื้อกลางคืนหรือมอท มีผีเสื้อกลางวันประมาณ๑๐%ของผีเสื้อทั้งหมด แต่ด้วยสีสันอันสวยงามสะดุดตาและโอกาสที่พบเห็นได้ง่ายในเวลากลางวัน ผีเสื้อกลางวันจึงเป็นที่รู้จักมักคุ้นกันมากกว่า
ในการที่จะชี้ชัดลงไปว่าเป็นผีเสื้อกลางวันหรือผีเสื้อกลางคืนนั้นจะต้องใช้หลักเกณฑ์หลายๆ ข้อประกอบกันพิจารณา หากจะให้ละเอียดลงไปต้องอาศัยลักษณะทางกายวิภาคและพฤติกรรมอื่นๆ เข้ามาประกอบด้วย
ผีเสื้อกลางวันหากินในเวลากลางวัน แต่ก็มีบางชนิดที่ชอบออกหากินในตอนพลบค่ำหรือใกล้รุ่ง เช่น ผีเสื้อสายัณห์สีน้ำตาลธรรมดา
หนวด ส่วนปลายจะพองโตคล้ายรูปกระบอง แต่ในบางชนิดปลายหนวดอาจเป็นรูปขอ เวลาเกาะจะชูหนวดขึ้นเหนือหัวเป็นรูปตัววี (V)
ลำตัว ค่อนข้างยาวเรียว ไม่มีขนปกคลุม หรือมีเพียงบางๆ เห็นไม่ชัดเจน
ผีเสื้อกลางคืน หากินในเวลากลางคืน แต่ก็มีบางชนิดออกหากินในเวลากลางวันด้วย เช่น ผีเสื้อหญ้า ซึ่งมักจะมีสีสรรฉูดฉาดไม่แพ้ผีเสื้อ กลางวัน
หนวด มีรูปร่างหลายแบบ เช่น เส้นด้าย ฟันหวี พู่ขนนก เคียว แต่บางชนิดก็มีหนวดคล้ายกับผีเสื้อกลางวัน เวลาเกาะผีเสื้อกลางคืนจะซ่อนหนวดไว้ใต้ปีกหรือลู่แนบไปตามขอบปีก
ลำตัว อ้วนกลมและสั้นกว่าลำตัวของผีเสื้อกลางวัน เมื่อเทียบกับขนาดความกว้างยาวปีกลำตัวมีขนปกคลุมค่อนข้างหนา

การป้องกันตัวเองของผีเสื้อ
ผีเสื้อเป็นเพียงแมลงตัวเล็ก ๆ  โอกาสที่จะตกเป็นเหยื่อของสัตว์ใหญ่กว่าจึงมีอยู่มาก  ขณะที่ยังอยู่ในระยะของไข่และตัวหนอนนับเป็นช่วงที่อันตรายที่สุด  โอกาสที่จะรอดชีวิตมาเป็นตัวเต็มวัยจึงมีอยู่น้อยมาก  เมื่อเจริญเป็นตัวที่สมบูรณ์แล้วผีเสื้อจึงต้องพยายามเอาชนะศัตรูรอบ ๆ ข้างให้ตัวเองได้มีชีวิตต่อไป

การออกหากินตอนเช้ามืดหรือตอนใกล้ค่ำของผีเสื้อหลายชนิด เพื่อให้รอดพ้นจากพวกนกต่าง ๆ ที่ออกหากินตอนกลางวัน  ทั้งยังปรับสีสันของปีกให้มีสีค่อนข้างทึบ บางชนิดมีลักษณะเหมือนผีเสื้อกลางคืนไปเลย  เช่น ผีเสื้อสายัณห์สีตาล  ผีเสื้อป่า  ผีเสื้อบินเร็วหลายชนิด
ผีเสื้อบางชนิด เช่น ผีเสื้อหางติ่ง  ผีเสื้อแถบขาว  ผีเสื้อหนอนมะนาว  ผีเสื้อตาลหนาม  และผีเสื้อเจ้าชายเขียว  สามารถบินได้เร็วทำให้ศัตรูไม่สามารถจับได้ทัน  บางชนิดบินร่อนไปช้า ๆ นาน ๆ จะกระพือปีกสักครั้ง  และมีลวดลายบนปีกที่สังเกตได้ยาก  เช่นผีเสื้อลายหินอ่อน  ผีเสื้อกะลาสี  ผีเสื้อร่อนลม  ผีเสื้อจรกา

ผีเสื้อหลายชนิดทำตัวให้กลมกลืนกับธรรมชาติ มีสีสันลวดลายของปีกกลมกลืนไปกับสภาพแวดล้อม เช่นผีเสื้อแพนซีมยุรา  ผีเสื้อสายัณห์ตาลบางชนิด  มักเกาะกิ่งไม้หรือต้นไม้ทอดไปตามแนวดิ่ง   ผีเสื้อที่อาศัยตามไม้พุ่มหนาทึบมักมีสีค่อนข้างทึบ เช่นสีน้ำตาล  สีน้ำเงิน หรือสีดำ และมักมีจุดสีอ่อนหรือสีขาวซึ่งมองดูคลัายกับแสงที่ลอดผ่านพุ่มไม้มายังพื้น เช่น ผีเสื้อกะลาสี  ผีเสื้อแถบขาว  ผีเสื้อเจ้าชายม่วง
ผีเสื้อในวงศ์ผีเสื้อสีน้ำเงินมีติ่งหางยื่นยาวออกมาบริเวณปลายปีกคู่หลัง และมีจุดสีดำตรงโดนติ่ง  ทำให้มองดูคล้ายหัวและหนวดเวลาเกาะมักชูท้ายขึ้นเพื่อให้ส่วนหางที่มองดูคล้ายหัวอยู่สูง  เพื่อลวงให้ศัตรูเข้าใจผิด  ทำให้ศัตรูจู่โจมผิดเป้าหมาย
ผีเสื้อที่ไม่มีพิษบางชนิดเลียนแบบสีสัน  ลวดลายของปีกและนิสัยการบินให้ใกล้เคียงกับพวกที่มีพิษ เพื่อหลอกให้ศัตรูไม่กินมัน การเลียนแบบมักจะเลียนแบบเฉพาะลวดลายปีกด้านบน  การเลียนแบบทั้งด้านบนและด้านล่างของปีกมีน้อยมาก


คำค้นหา  :  อุทยานแห่งชาติกุยบุรี ,ช้างป่ากุยบุรี , กระทิงอุทยานแห่งชาติกุยบุรี , เสือโคร่งอุทยานแห่งชาติกุยบุรี,จองบ้านพักอุทยานแห่งชาติกุยบุรี ,ช้างป่าอุทยานแห่งชาติกุยบุรี,ดูนกอุทยานแห่งชาติกุยบุรี ,แผนที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรี ,เที่ยวกุยบุรี ,แหล่งท่องเที่ยวจังหวัดประจวบคีรีขันะธุ์ ,  kuiburi national park เที่ยวอุทยานแห่งชาติกุยบุรี,กุยบุรีซาฟารีเมืองไทย,น้ำตกดงมะไฟอุทยานแห่งชาติกุยบุรี ,อำเภอกุยบุรี ,กุยบุรีโมเดล,ชมรมรักษ์ กระทิงไทย