วันพุธที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2556

เสือโคร่งอุทยานแห่งชาติกุยบุรี




จากการพัฒนาแหล่งน้ำแหล่งอาหารให้สัตว์ป่าอย่างต่อเนื่องของอุทยานแห่งชาติกุยบุรี ทำให้สัตว์ป่าสามารถใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำ แหล่งอาหาร ในการดำรงชีวิต ความสมบูรณ์ของพื้นที่ก็ได้เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้วยเหตุดังกล่าว
ทำให้สัตว์ป่าต่างๆมีการเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวกเร็ว ไม่ว่าจะเป็นช้างป่า  กระทิง วัวแดง กวางป่า และ อื่นๆ  ทำให้มีสัตว์ผู้ล่าตามมาอีกมากมาย เช่น เสือ ชนิดต่างๆที่ หมาจิ้งจอก การสำรวจและติดตามเสือโคร่งในอุทยานแห่งชาติกุยบุรี ปัจจุบันพบว่ามีเสือโคร่งมากกว่า 10 ตัว
   
ข้อมูลทั่วไปเสือโคร่ง
เสือโคร่ง หรือ เสือลายพาดกลอน เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Panthera tigris ในวงศ์ Felidae จัดเป็นสัตว์ที่มีขนาดที่สุดในวงศ์นี้ และเป็นเสือชนิดที่ใหญ่ที่สุด น้ำหนักตัว 130-260 กิโลกรัม มีขนลำตัวสีน้ำตาลเหลืองหรือเหลืองอมส้ม มีลายสีดำ พาด

ขวางตลอดทั้งลำตัวเป็นจุดเด่น ซึ่งลายเส้นนี้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว เสือโคร่งแต่ละตัวจะมีลายไม่เหมือนกันเช่นเดียวกับลายนิ้วมือของมนุษย์ ส่วนหางมีแถบดำเป็นบั้ง ๆ หรือวงสีดำสลับน้ำตาล ปลายหางมีสีดำ
เสือโคร่งมีพฤติกรรมและอุปนิสัยชอบอยู่เพียงลำพังตัวเดียวโดด ๆ ยกเว้นในฤดูผสมพันธุ์จึงจะจับคู่กัน อายุที่พร้อมจะผสมพันธุ์ได้นั้นคือ 3-4 ปี โดยตัวเมียจะเป็นสัดทุก ๆ 50 วัน และจะส่งเสียงร้องดังขึ้น ๆ และถี่ขึ้นเรื่อย ๆ การผสมพันธุ์ของเสือโคร่งนั้นใช้เวลาเร็วมาก คือ ใช้เวลาเพียง 15 วินาทีเท่านั้น เมื่อเสร็จแล้วตัวผู้จะแยกจากไป และอาจไปผสมพันธุ์กับตัวเมียตัวอื่น ตัวเมียที่ปฏิสนธิแล้วจะตั้งท้องนานประมาณ 105-110 วัน คลอดลูกครั้งละ 1-6 ตัว และจะเลี้ยงลูกเองตามลำพังโดยไม่ยอมให้ใครเข้าใกล้ประมาณ 2 ปีชอบอาศัยอยู่ตามป่าทึบสลับกับทุ่งหญ้าโล่ง ชอบว่ายน้ำและแช่น้ำมาก ซึ่งแตกต่างจากเสือสายพันธุ์อื่น ล่าเหยื่อได้ทั้งกลางวันและกลางคืน แต่ส่วนใหญ่ในเวลากลางวันจะนอนพักผ่อน ล่าเหยื่อในเวลาเย็น พลบค่ำ กลางคืน หรือขณะที่อากาศไม่ร้อนจัด มีสายตาที่มองเห็นได้ทั้งที่มืดและสว่าง จะคืบคลานเข้าหาเหยื่อในระยะใกล้ 10-25 เมตร จนกระทั่งได้ระยะ 2-5 เมตร จึงกระโดดใส่ หากเป็นเหยื่อขนาดเล็กจะกัดที่คอหอย หากเป็นสัตว์ขนาดใหญ่ เช่น เก้ง หรือ กวาง จะกัดที่ท้ายทอยหรือหลังด้านบน เสือโคร่งวิ่งได้เร็วกว่า 60 กิโลเมตร/ชั่วโมง และสามารถกระโจนในระยะทาง 500 เมตรได้ในเวลาเพียงไม่กี่วินาทีเสือโคร่งมักจะกัดที่คอหอยเหยื่อจากทางด้านบนหรือด้านล่าง บางทีกระโดดตะปบหลังและตะปบขาหลังเหยื่อให้ล้มลงก่อนที่จะกัดคอหอย และเมื่อได้เหยื่อแล้ว จะเริ่มกินเนื้อบริเวณคอก่อน แล้วจึงมากินที่ท้องและกล้ามเนื้อหลัง โดยมักจะไม่กินหัวและขาของเหยื่อ เหยื่อที่เหลือจะถูกฝังกลบโดยใช้ใบไม้ หรือกิ่งไม้ หรือเศษหญ้า และตัวเสือโคร่งเองจะหลบ
นอนอบู่บริเวณใกล้ ๆ นั้น และบางตัวอาจคาบเหยื่อขึ้นไปขัดไว้ตามคบไม้เหมือนเสือดาว (P. pardus) ด้วยก็ได้ เสือโคร่งมีกล้ามเนื้อขาที่แข็งแรงมาก สามารถตามเหยื่อได้ไกลถึง 100-200 เมตร เพศผู้มีพื้นที่ในการหากินกว้างถึง 200-300 ตารางกิโลเมตร ขณะที่ตัวเมียมีเพียง 60 ตารางกิโลเมตรเท่านั้น เพื่อเลี้ยงตัวเองและลูกน้อยนิสัยปกติจะหวงถิ่น โดยการหันก้นปัสสาวะรดตามต้นไม้ โขดหิน เพื่อให้กลิ่นของตนเองติดอยู่ เพื่อประกาศอาณาเขต ในบางครั้งอาจจะข่วนเล็บกับเปลือกไม้ด้วยเพื่อเป็นการลับเล็บและประกาศอาณาเขต หากมีเสือโคร่งตัวอื่นหรือสัตว์อื่นที่มีขนาดใหญ่รุกล้ำมา จะต่อสู้กัน โดยปกติแล้ว เสือโคร่งจะกลัวมนุษย์ จะหลบหนีไปเมื่อพบกับมนุษย์ แต่จะทำร้ายหรือกินเนื้อมนุษย์ได้ เมื่อบาดเจ็บหรือจนตรอก หรือเป็นเสือที่อายุมากแล้วไม่สามารถล่าเหยื่อชนิดอื่นได้


คำค้นหา  :  อุทยานแห่งชาติกุยบุรี ,ช้างป่ากุยบุรี , กระทิงอุทยานแห่งชาติกุยบุรี , เสือโคร่งอุทยานแห่งชาติกุยบุรี,จองบ้านพักอุทยานแห่งชาติกุยบุรี ,ช้างป่าอุทยานแห่งชาติกุยบุรี,ดูนกอุทยานแห่งชาติกุยบุรี ,แผนที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรี ,เที่ยวกุยบุรี ,แหล่งท่องเที่ยวจังหวัดประจวบคีรีขันะธุ์ ,  kuiburi national park เที่ยวอุทยานแห่งชาติกุยบุรี,กุยบุรีซาฟารีเมืองไทย,น้ำตกดงมะไฟอุทยานแห่งชาติกุยบุรี ,อำเภอกุยบุรี ,ชมรมรักษ์ กระทิงไทย