วันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ทรัพยากรป่าไม้ (Natural Resource) อุทยานแห่งชาติกุยบุรี



       ความสำคัญของทรัพยากรป่าไม้

          ป่าไม้มีประโยชน์มากมายต่อการดำรชีวิตของมนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อม ดังนี้

          1. ประโยชน์ทางตรง (Direct benefits) ได้แก่การนำมาใช้สนองปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตของมนุษย์ 4 ประการ ได้แก่
               1.1 นำมาสร้างอาคารบ้านเรือนและผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น เฟอร์นิเจอร์ กระดาษ ไม้ขีดไฟ ฟืน เป็นต้น
               1.2 ใช้เป็นอาหาร
               1.3 ใช้เส้นใยที่ได้จากเปลือกไม้และเถาวัลย์ มาถักทอเป็นเครื่องนุ่งห่ม เชือก และอื่น ๆ
               1.44 ใช้ทำยารักษาโรคต่าง ๆ

          2. ประโยชน์ทางอ้อม (Indirect benefits)
               2.1 ป่าไม้เป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธาร เพราะต้นไม้จำนวนมากในป่า จะทำให้น้ำฝนที่ตกลงมาค่อย ๆ ซึมซับลงในดิน กลายเป็นน้ำใต้ดินซึ่งจะไหลซึมมาหล่อเลี้ยงให้แม่น้ำลำธารมีน้ำไหลอยู่ตลอดปี
               2.2 ป่าไม้ทำให้เกิดความชุมชื้นและควบคุมสภาวะอากาศ ไอน้ำซึ่งเกิดจากการหายใจของพืชจำนวนมากในป่า ทำให้อากาศเหนือป่ามีความชื้นสูง เมื่ออุณหภูมิลดต่ำลงไอน้ำ เหล่านั้นก็จะกลั่นตัวกลายเป็นเมฆแล้วกลายเป็นฝนตกลงมา ทำให้บริเวณที่มีพื้นที่ป่าไม้มีความชุมชื้นอยู่เสมอ ฝนตกต้องตามฤดูกาลและไม่เกิดความแห้งแล้ง
               2.3 ป่าไม้เป็นแหล่งพักผ่อนและศึกษาหาความรู้ บริเวณป่าไม้จะมีภูมิประเทศที่ สวยงามจากธรรมชาติรวมทั้งสัตว์ป่าจึงเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจได้ดี นอกจากนั้นป่าไม้ยังเป็นที่รวมของพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์จำนวนมาก จึงเป็นแหล่งให้มนุษย์ได้ศึกษาหาความรู้
               2.4 ป่าไม้ช่วยบรรเท่าความรุนแรงของลมพายุและป้องกันอุทกภัย โดยช่วยลดความเร็วของลมพายุที่พัดผ่านได้ตั้งแต่ 11-44% ตามลักษณะของป่าไม้แต่ละชนิดจึงช่วยให้บ้านเมือง รอดพ้นจากวาตภัยได้ ซึ่งเป็นการป้องกันและควบคุมน้ำตามแม่น้ำไม่ให้สูงขึ้นอย่างมารวดเร็วล้นฝั่งกลายเป็นอุทกภัย
               2.5 ป่าไม้ช่วยป้องกันการกัดเซาะและพัดพาหน้าดิน จากน้ำฝนและลมพายุโดยลดแรงปะทะลง การหลุดเลื่อนของดินจึงเกิดขึ้นน้อย และยังเป็นการช่วยให้แม่น้ำลำธารต่าง ๆ ไม่ ตื้นเขินขึ้นอีกด้วย นอกจากนี้ป่าไม้จะเป็นเสมือนเครื่องกีดขวางตามธรรมชาติ จึงนับว่ามีประโยชน์ในทางยุทธศาสตร์ด้วยเช่นกัน
               2.6 ช่วยให้เกิดวัฎจักรของน้ำ (Water Cycling) วัฎจักรของออกซิเจน วัฎจักรของคาร์บอน และวัฎจักรของไนโตรเจน ในเขตนิเวศ(Ecosphere)
               2.7 ช่วยดูดซับมลพิษของอากาศ

ประเภทของป่าไม้ในอุทยานแห่งชาติกุยบุรี

1.ป่าดงดิบ (Tropical Evergreen Forest or Rain Forest )  ป่าดงดิบที่มีอยู่ทั่วในทุกภาคของประเทศ แต่ที่มีมากที่สุด  ได้แก่  ภาคใต้และภาคตะวันออก  ในบริเวณนี้มีฝนตกมากและมีความชื้นมากในท้องที่ภาคอื่น  ป่าดงดิบมักกระจายอยู่บริเวณที่มีความชุ่มชื้นมาก ๆ  เช่น  ตามหุบเขาริมแม่น้ำลำธาร  ห้วย  แหล่งน้ำ และบนภูเขา  ซึ่งสามารถแยกออกเป็นป่าดงดิบชนิดต่าง ๆ  ดังนี้
1.1 ป่าดงดิบเขา (Hill evergreen forest)                    
1.2 ป่าดงดิบชื้น (Tropical moist evergreen forest)  
1.3 ป่าดงดิบชื้นกึ่งดิบแล้งหรือป่าดงดิบแล้งระดับสูง (Semi-evergreen forest)
1.4 ป่าดงดิบแล้งระดับกลาง (Middle dry evergreen forest)
1.5 ป่าดงดิบแล้งผสมเบญจพรรณ  (Dry evergreen forest mixe with deciduous forest

 2. ป่าประเภทผลัดใบ (Deciduous forest)
  พบกระจายเพียงเล็กน้อย ในพื้นที่ตอนล่างและตอนบน  จำแนกได้เพียงชนิดเดียวคือ ป่าผสมผลัดใบ

2.1 ป่าผสมผลัดใบ หรือป่าเบญจพรรณ  (Mixed deciduous forest)

3.พื้นที่ป่าประเภทอื่น ๆ

3.1  ป่ารุ่นสองหรือป่าทดแทน (Secondary forest)        
3.2 ไร่ร้าง (Old clearing area)
3.3ป่าไผ่ (Bamboo forest)


คำค้นหา  :  อุทยานแห่งชาติกุยบุรี ,ช้างป่ากุยบุรี , กระทิงอุทยานแห่งชาติกุยบุรี , เสือโคร่งอุทยานแห่งชาติกุยบุรี,จองบ้านพักอุทยานแห่งชาติกุยบุรี ,ช้างป่าอุทยานแห่งชาติกุยบุรี,ดูนกอุทยานแห่งชาติกุยบุรี ,แผนที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรี ,เที่ยวกุยบุรี ,แหล่งท่องเที่ยวจังหวัดประจวบคีรีขันะธุ์ ,  kuiburi national park เที่ยวอุทยานแห่งชาติกุยบุรี,กุยบุรีซาฟารีเมืองไทย,น้ำตกดงมะไฟอุทยานแห่งชาติกุยบุรี ,อำเภอกุยบุรี ,ชมรมรักษ์ กระทิงไทย