โป่งแบ่งได้เป็นสองชนิดได้แก่ โป่งดินและโป่งน้ำ โป่งน้ำแตกต่างจากดป่งดินตรงที่เป็นบริเวณที่มีน้ำไหลซึมตลอดทั้งปี โป่งน้ำจะมีสัตว์มาใช้บ่อยและประจำมากกว่าโป่งดิน เพราะในช่วงฤดูร้อน โป่งดินจะแข้งมาก สัตวืป่าไม่สามารถขุดเจาะเพื่อกินดินดป่งได้สะดวกนัก นอกจากนี้ บริเวณที่น้ำซับใต้ดินได้พัดผ่านเกลือแร่จากใต้เปลือกโลก ขึ้นมาสะสมจนเป็นแอ่งเป็นบ่อ ก็จัดอยู่ในประเภทโป่งน้ำเช่นกัน โดยมักเรียกกันว่า โป่งน้ำซับ
เมื่อแร่ธาตุในโป่งหมดลงหรือมีน้อย สัตว์ป่าอาจทิ้งโป่งเก่าเพื่อไปหากินยังโป่งใหม่ โป่งที่สัตว์ทิ้งและไม่ใช้ประโยชนือีกเรียกว่าโป่งร้าง หากเกิดโป่งร้างขึ้นมาก ๆ โดยไม่มีโป่งใหม่ ๆ เกิดขึ้น เจ้าหน้าที่อาจสร้างโป่งเทียมในพื้นที่เพื่อเสริมแร่ธาตุให้กับสัตว์ป่า แต่กรณีเช่นนี้แทบไม่มีโอกาสเกิดขึ้นเพราะโดยธรรมชาติสัตว์ป่าเป็นผู้เชี่ยวชาญในการค้นหาโป่งเป็นอย่างยิ่ง โป่งเทียมส่วนมากที่มนุษย์ทำขึ้น โดยจะต้องมีการเติมเกลือลงในดินโป่งอยู่เสมอ
สัตว์กินพืชมาลงกินโป่งเพื่อชดเชยสารอาหารที่ได้ไม่ครบถ้วน ส่วนสัตว์ผู้ล่ามาหากินอยู่ใกล้โป่งเพื่อรอจับสัตว์กินพืชเป็นอาหาร สายใยธรรมชาติเส้นนี้ถักทอขึ้นโดยมีโป่งเป็นผู้เชื่อมโยง
โป่งเทียม เป็นโป่งที่มนุษย์สร้างขึ้นส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นโป่งดิน โดยการขุดดินในบริเวณที่เลือกไว้ให้เป็นแอ่งแล้วนำเกลือสมุทรลงไปผสมกับดินบริเวณที่ขุดขึ้น เมื่อมีฝนตกหรือความชื้นจากน้ำค้างเกลือก็จะละลายทำให้ดินบริเวณนั้นเค็ม สัตว์ป่าชนิดต่าง ๆ ก็จะพากันมากินดินเหล่านี้ โดยบริเวณที่นิยมเลือกทำโป่งเทียม คือ
บริเวณพื้นที่ที่เคยเป็น "ดินโป่ง" มาก่อน แต่ดินเริ่มเสื่อมความเค็มลง และยังมีสัตว์ป่าลงมากินอยู่
บริเวณพื้นที่ที่เป็น "โป่งร้าง" ซึ่งดินเสื่อมสภาพ และไม่มีสัตว์ป่าลงมากินหรือมาใช้ประโยชน์แล้ว
บริเวณพื้นที่ที่มีลักษณะคล้ายกับดินโป่งธรรมชาติ
บริเวณพื้นที่ที่เป็นด่านสัตว์ หรือใกล้กับด่านสัตว์ที่สัตว์ต้องเดินผ่านเป็นประจำอยู่แล้ว
การใช้ประโยชน์ในพื้นที่โป่ง สามารถใช้ได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม การใช้ประโยชน์ทางตรงพบได้ในสัตว์ป่าที่กินพืชเป็นอาหาร เช่น เก้ง กวาง ช้าง โดยสัตว์เหล่านี้จะกินดินจากโป่งดิน หรือดื่มน้ำจากโป่งน้ำเพื่อให้ร่างกายได้รับแร่ธาตุหรือสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายได้ครบถ้วน ส่วนการใช้ประโยชน์ทางอ้อมก็คือสัตว์ที่กินสัตว์เป็นอาหาร (Carnivores) หรือผู้ล่า เช่น สิงโต เสือและหมาใน จะได้ประโยชน์จากโป่งในทางอ้อมโดยการใช้เป็นพื้นที่ในการซุ่มโจมตีเหยื่อหรือล่าสัตว์กินพืชที่ลงมากินดินโป่ง ซึ่งการล่าเหยื่อจากบริเวณนี้เป็นคำตอบว่าเหตุใดผู้ล่าจึงไม่จำเป็นต้องกินดินโป่งก็สามารถได้รับแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกายได้ ซึ่งประโยชน์จากการกินต่อกันเป็นทอด ๆ นี้ทำให้เกิดการถ่ายทอดพลังงานในสิ่งมีชีวิต (energy flow) เกิดขึ้นในระบบนิเวศซึ่งส่งผลให้ระบบนิเวศเกิดความสมดุลอีกด้วย
เครดิต :
หนังสือธรรมชาติศึกษาป่าห้วยขาแข้ง
http://biology.ipst.ac.th/index.php?option=com_content&view=article&id=183:-saltlick-&catid=45:bio-article-&Itemid=112
สร้างโป่ให้สัตว์ป่างอุทยานแห่งชาติกุยบุรี
คำค้นหา : อุทยานแห่งชาติกุยบุรี ,ช้างป่ากุยบุรี , กระทิงอุทยานแห่งชาติกุยบุรี , เสือโคร่งอุทยานแห่งชาติกุยบุรี,จองบ้านพักอุทยานแห่งชาติกุยบุรี ,ช้างป่าอุทยานแห่งชาติกุยบุรี,ดูนกอุทยานแห่งชาติกุยบุรี ,แผนที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรี ,เที่ยวกุยบุรี ,แหล่งท่องเที่ยวจังหวัดประจวบคีรีขันะธุ์ , kuiburi national park เที่ยวอุทยานแห่งชาติกุยบุรี,กุยบุรีซาฟารีเมืองไทย,น้ำตกดงมะไฟอุทยานแห่งชาติกุยบุรี ,อำเภอกุยบุรี ,ชมรมรักษ์ กระทิงไทย